ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การผลิตข้าวเม่า (สินค้า OTOP) ตำบลกลางใหญ่
- การคัดเลือกพันธุ์ข้าวเม่า
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
การผลิตข้าวเม่า พันธุ์ข้าวที่นิยมนำมาผลิตเป็นข้าวเม่านั้น เป็นการผลิตตามอายุข้าวที่มีตามฤดูกาลเก็บเกี่ยวตามระยะเวลาข้าว เช่น...
⇒ ต้นเดือนสิงหาคม พันธุ์ข้าวอีเตี้ย (หรือข้าวดอหรืออีกอย่างหนึ่งข้าวต้นปี) อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ กลางถึงปลายเดือนสิงหาคม พันธุ์ข้าวหอมทอง อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ ต้นเดือนกันยายน พันธุ์ข้าวนางบุญมา อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ กลางเดือนกันยายน พันธุ์ข้าวหางยี อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน และพันธุ์ข้าวดอญวน อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ ปลายเดือนกันยายน พันธุ์ข้าวญวนกลาง อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ ต้นเดือนตุลาคม พันธุ์ข้าวขี้ตมพันธุ์ อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ กลางเดือนตุลาคม พันธุ์ข้าวพันธุ์สบาย อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน พันธุ์ข้าวพันธุ์ กข 8 อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ ปลายเดือนตุลาคม พันธุ์ข้าวอินแปลง อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน พันธุ์ข้าวหอมพม่า อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ ต้นเดือนพฤศจิกายน พันธุ์ข้าวบือสิม อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
⇒ กลางเดือนพฤศจิกายน พันธุ์ข้าวบือสิม อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน
* ข้าวที่ใช้ในการผลิตข้าวเม่า เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวเท่านั้น
- การเก็บเกี่ยวข้าวเม่า
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
⇒ การเก็บเกี่ยวข้าวต้องผลิตในวันเดียวกัน อายุข้าวประมาณ 80 - 85 วัน และไม่นิยมเก็บเกี่ยวข้าวที่ค้างคืนมาผลิต เนื่องจากจะทำให้ข้าวแข็ง ขาดความอ่อนนุ่ม ไม่หอมหวาน
- การปั่นข้าว
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
⇒ เพื่อคัดเมล็ดข้าวออกจากรวงข้าว (ปัจจุบันใช้รถเกี่ยวข้าวช่วยลดขั้นตอนการปั่นข้าว)
- การแช่ข้าวเม่า
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
⇒ เพื่อคัดแยกเมล็ดข้าวที่สมบูรณ์ และทำให้เมล็ดข้าวอิ่มตัว โดยแช่ข้าวประมาณ 10 - 15 นาที
- การคั่วข้าว
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
⇒ เพื่อทำให้เมล็ดข้าวสุก ใช้เวลาประมาณ 20 - 25 นาที
- การผึ่งข้าว
⇒ เพื่อเป็นการผึ่งลมให้เย็นก่อนนำไปตำ
- การตำข้าว
⇒ การตำมีอยู่ 3 ขั้นตอน
1.การตำเปลือก ใช้เวลาประมาณ 4 - 5 นาที
2.การตำต่าว ใช้เวลาประมาณ 15 - 20 นาที
3.การตำซ้อม ใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
อดีตใช้กระด้งร่อน ปัจจุบันใช้เครื่องร่อน
⇒ การตำแต่ละขั้นตอนการตำต้องนำมาฝัดก่อนที่จะนำไปตำในขั้นตอนต่อไป โดยแต่ก่อนใช้กระดงในการฝัด ปัจจุบันใช้เครื่องตะแกรงร่อน
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
- ข้าวเม่าที่ผ่านการผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว,ข้าวเม่าปรุงสำเร็จ
(คลิ๊กที่ภาพเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
⇒ เป็นข้าวเม่าที่ผ่านกรรมวิธีผลิต พร้อมรับประทานและส่งจำหน่ายเป็นสินค้า OTOP
ส่วนประกอบ : ในการคลุกข้าวเม่าให้พร้อมรับประทาน
⇒ เครื่องปรุง + ส่วนผสม
1.ข้าวเม่าข้าวเหนี่ยว 100 กรัม
2.น้ำตาลทราย 50 กรัม
3.มะพร้าวทึนทึกขูดนึ่งสุก 1 ถ้วยตวง
4.เกลือ(สำหรับคลุกมะพร้อว) 1/4 ช้อนโต๊ะ
5.เกลือ(สำหรับต้นน้ำ) 1 ช้อนโต๊ะ
6.น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง
⇒ คลุกเคล้าส่วนประกอบให้เข้ากัน เสร็จแล้วพร้อมรับประทาน